สื่อการสอนคณิตศาสตร์

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์



สวัสดีค่ะวันนี้มาพบกันดิฉันจะได้บันทึกความรู้ทีได้จากการเรียนในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ซึ่งในการเรียนในภาคเรียนนี้ดิฉันก็รู้สึกว่ามีความสุขในการเรียนและได้ความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1).การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้ในหลายๆกิจกรรมเนื่องจากคณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง
2).ขอบข่ายการสอนคณิตศาสตร์ประกอบด้วย 12 เรื่องดังนี้
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยไว้ดังนี้
1. การนับ
2. ตัวเลข
3. การจับคู่
4. การจัดประเภท ๆ
5. การเปรียบเทียบ
6. การจัดลำดับ
7. รูปทรงและเนื้อที่
8. การวัด
9. เซต
10. เศษส่วน
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ
3)ในการจัดประสบการณืคณิตศาสตร์จะต้องรู้พัฒนาการของเด็ก
4)ได้รู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนการสอน
5)ได้รู้หลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่สามารถบรรยายหรืออธิบายได้เกี่ยวกับการเรียนการสอน

กิจกรรมผู้ปกครองในการส่งเสริมคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

สวัสดีค่ะในวันนี้มาพบกันในยามทุกข์ยาก!ไม่ใช่ค่ะ และในวันนี้เรามีกิจกรรมผู้ปกครองในการส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมาฝากกันค่ะ เป็นบทความได้จากการบรรยายพิเศษของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในวันที่ 24สิงหาคม 2551 ถึงแม้จะเป็นบทความที่บรรยายไว้นานแล้วแต่เนื้อหาสาระยังใช้ได้ดีค่ะ
คณิตคิดสนุก เริ่มที่บ้าน
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้จัดให้มีการบรรยายพิเศษ เรื่อง "ผู้ปกครองกับการส่งเสริม การเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยตนเองที่บ้าน" โดย อาจารย์สุรัชน์ อินทสังข์ จากภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 24 ส.ค.51 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2551 ที่ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ และผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้ร่วมเข้าฟังด้วย อ.สุรัชน์ บอกว่า เด็กไทยคิดคำนวณเลขเก่ง ทว่ายังขาดการให้เหตุผล ซึ่งเรื่องนี้พ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญ ที่จะช่วยให้เด็กฝึกคิดหาเหตุผลได้ โดยการชวนลูกคุย และหมั่นตั้งคำถาม ให้เด็กได้ฝึกคิด ส่วนคำตอบจะผิดหรือถูกยังไม่ใช่เรื่องสำคัญ อีกทั้ง เนื่องจากการเรียนการสอนที่โรงเรียนอัดแน่นเนื้อหาเอาไว้มาก ทำให้คุณครูผู้สอนมักเร่งรีบสอนเพื่อให้จบเนื้อหา เด็กๆ จึงไม่ค่อยได้ทำกิจกรรม เช่น เรียนเรื่องการชั่ง ตวง วัด แต่เด็กไม่เคยได้สัมผัสเครื่องชั่งจริงๆ เลยสักที ทำให้เด็กๆ ขาดทักษะส่วนนี้ไป ซึ่งทักษะเหล่านี้จำเป็นต่อการเรียนคณิตศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่ใช่แค่เรียนบวก ลบ คูณ หาร เท่านั้น
"คณิตศาสตร์ซ่อนอยู่ในหลายๆ ที่ ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น หนังสือพิมพ์ ในห้องครัว ในสวน สนามเด็กเล่น เป็นต้น เมื่อผู้ปกครองพบเห็นอะไร ก็สามารถเก็บประเด็นแล้วนำมาพูดคุยกับลูกหลานได้ หรือหากิจกรรมสนุกมาทำร่วมกันในครอบครัวและให้เด็กมีส่วนร่วมด้วย เช่น เล่นเกมทางคณิตศาสตร์ เข้าครัวทำอาหาร เป็นต้น" อ.สุรัชน์ กล่าว
อ.สุรัชน์ ยกตัวอย่างกิจกรรม ให้ผู้ปกครองและเด็กทำเยลลีด้วยกัน ซึ่งทำได้ไม่ยาก และเด็กก็จะได้เรียนรู้ทักษะการชั่ง ตวง วัด ว่าหากต้องการผงเยลลีเท่านี้ ผสมน้ำเท่านั้น จะมีวิธีตวงได้อย่างไร หรืออาจพลิกแพลงสูตรที่ต่างออกไป เช่น ลองใส่น้ำมากขึ้นหรือน้อยลง และเยลลีที่ได้จะมีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง เด็กก็จะได้เรียนรู้อีกว่าควรจะใส่ส่วนผสมในปริมาณเท่าไหร่จึงจะได้เยลลีที่อร่อยที่สุด หรือชักชวนลูกหลานไปจ่ายตลาดด้วยกัน เด็กๆ ก็จะได้ฝึกวางแผนว่าจะต้องซื้ออะไรบ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ และปริมาณเท่านี้คิดเป็นเงินจำนวนเท่าไหร่ เป็นการให้เด็กได้ฝึกคำนวณเลข นอกจากนี้เวลาที่เดินทางไปยังที่ต่างๆ ซึ่งจะพบป้ายบอกระยะทางได้ทั่วไป ก็สามารถหยิบยกเอามาเป็นโจทย์ให้เด็กฝึกคิดเลขได้ไม่ยาก
อาจารย์สุรัชน์ อินทสังข์ โชว์ของตัวอย่างของเล่นที่สามารถ นำไปใช้ฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์
ให้กับเด็กๆ ที่บ้านได้ เมื่อเด็กเล่นอยู่ในสวนที่มีดอกไม้ ก็อาจเรียนรู้คณิตศาสตร์จากการนับกลีบดอกไม้แต่ละชนิด เช่น ดอกเข็มที่ส่วนใหญ่มี 4 กลีบ แต่จะมีบางดอกที่มี 5 กลีบ หรือ 6 กลีบ ก็หยิบยกเอามาขบคิดเรื่องสถิติก็ได้ว่าจะมีโอกาสพบดอก 5-6 กลีบ ได้อย่างไรบ้าง หรือเมื่ออยู่สนามเด็กเล่น ก็มักพบเห็นรูปทรงเรขาคณิตได้ในเครื่องเล่นทั่วไป ก็กำหนดเป็นโจทย์ให้เด็กทำความรู้จักกับรูปทรงต่างๆ คำนวณหาพื้นที่จากรูปทรงเหล่านั้น เช่น ลูกฟุตบอล ล้อรถจักกระยาน เป็นต้น
อีกกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจมากคือ การประดิษฐ์กล่องของขวัญ ซึ่งนอกจากผู้ปกครองและเด็กจะได้ใช้เวลาทำกิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมกันแล้ว เด็กจะได้เรียนรู้ทักษะอีกมากมายจากการประดิษฐ์กล่องสัก 1 ใบ เริ่มแรกอาจนำกล่องที่มีอยู่แล้ว มาแกะและพิจารณาดูว่าเขาทำอย่างไร จึงได้เป็นกล่องใบนั้นขึ้นมา แล้วจากนั้นจึงทดลองทำกล่องใบใหม่ ซึ่งการทำกล่องก็จะต้องมีการวัดสัดส่วน วัดมุม เพื่อให้ได้ขนาดกล่องตามที่ต้องการ และครั้งต่อไปก็อาจปรับเปลี่ยนรูปแบบกล่องที่ซับซ้อนมากขึ้น และการประดิษฐ์กล่องนั้นยังเป็นพื้นฐานสำคัญของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ในระดับสูงขึ้นไปอีกด้วย
นอกจากนี้ อ.สุรัชน์ ยังได้แนะนำเกมสนุกๆ ที่พ่อแม่สามารถนำไปเล่นกับเด็ก เพื่อช่วยฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ของลูกเพิ่มเติมจากที่โรงเรียนได้ไม่ยาก เช่น เกมทายตัวเลข เกมนับตัวเลข เกมโยนเหรียญ เกมทอยลูกเต๋า หรือเกมไพ่ผสม 10 ซึ่งเกมเหล่านี้สามารถพลิกเพลงได้หลายอย่าง เกมไพ่ อาจไม่จำเป็นต้องผสม 10 แต่เป็นผสม 7 หรือ ผสม 11 ก็สามารถเล่นได้ทั้งหมด ในการให้เด็กฝึกทักษะคิดเลข
การเล่นเกมจะทำให้เด็กชอบได้ง่าย เพราะมีการแข่งขันเข้ามาเกี่ยวด้วย และในการเล่นเกมก็มักมีกลยุทธที่ช่วยให้ชนะได้ง่ายขึ้น ซึ่งสิ่งนี้เด็กจะยังไม่รู้ในตอนแรก และผู้ปกครองเองก็ไม่ควรบอก แต่ปล่อยให้เด็กค่อยๆ เรียนรู้ด้วยตัวเอง "การทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันที่บ้าน เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ซึ่งกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ก็เป็นส่วนหนึ่งที่น่าสนใจ แต่ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักไม่ค่อยนำมาใช้" อ.สุรัชน์ เผย "การส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กจากที่บ้าน ยังเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ด้วย ทำให้เห็นว่าเป็นเรื่องทั่วไปที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน และนำมาเล่นสนุกกันได้ ไม่ใช่เรื่องวิชาการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งก็จะทำให้เด็กสนใจและรู้สึกอยากเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้น" อ.สุรัชน์ กล่าว และบอกอีกว่ายังเป็นการประเมินได้ด้วยว่าเด็กๆ ได้ความรู้จากที่โรงเรียนมากน้อยแค่ไหน ซึ่งเนื้อหาเรียนได้จากที่โรงเรียน แต่ที่บ้านคือการนำมาใช้จริง
อย่างไรก็ตาม อ.สุรัชน์ บอกอีกว่า คณิตศาสตร์มีความเป็นนามธรรม มากกว่าวิชาอื่นๆ เพราะฉะนั้นคุณครู จึงควรมีทักษะที่สามารถดึงสิ่งที่ซ่อนอยู่ในคณิตศาสตร์ ออกมานำเสนอให้เด็กสนใจได้ ส่วนผู้ปกครองก็ไม่ควรปล่อยให้การเรียนการสอนเป็นหน้าที่ของโรงเรียนเพียงอย่างเดียว และควรปรับเปลี่ยนทัศนคติ ต้องไม่คิดว่าตนเองเคยเรียนมาอย่างไร ลูกก็ต้องเรียนอย่างนั้นด้วยเหมือนกัน
ผู้ปกครองควรจะติดตามความก้าวหน้า ของหลักสูตรการเรียนการสอนในปัจจุบันด้วย เพื่อที่จะได้เสริมทักษะให้ลูกหลานได้ถูกต้อง ซึ่งเดี๋ยวนี้มีสื่อและเทคโนโลยีการเรียนการสอนที่น่าสนใจให้เลือกมากมาย ทั้งจากหนังสือ คอมพิวเตอร์ หรือของหน่วนงานต่างๆ ผู้ปกครองต้องหมั่นค้นหาเพิ่มเติม และนำมาสอนลูกหลานด้วยตัวเอง ก็จะช่วยเพิ่มทักษะของเด็กได้มากขึ้น
เห็นมั้ยค่ะว่าคณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง และสามารถสอนเด็กจากการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างง่ายๆ ค่ะเห็นอย่างนี้แล้วคุณพ่อคุณแม่ท่านใดสนใจจะสอนลูกของท่านก็สามารถนำไปใช้ได้นะค่ะ


ที่มา : http://earthanfield.multiply.com/journal/item/39

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียน ( 18 กุมภาพันธ์ 2553 )

สวัสดีค่ะวันนี้เป็นการเรียนนวันสุดท้ายแล้วหลังจากที่ได้ตั้งเรียนกันมาเป็นอย่างมาก(รึเปล่าเนื่องจากเข้าห้องเรียนทีไรก็มักจะไม่ตอบอะไรทั้งนั้นไม่รูว่าไม่รู้หรือไม่สนในก็ไม่รู้เหมือนกันเเต่เราเองบางครั้งก็ไม่ได้สนใจฟังอาจารย์เท่าไหร่ ก็รู้สึกเสียใจอยู่ ) ซึ่งในการเรียนในวันนี้มรรายละเอียดดังนี้คือ
การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- หน่วยดอกไม้ สอนได้โดยกิจกรรมการปลูกดอกไม้ ให้เด็กวัดระยะห่างในการปลูกดอกไม้
- หน่วยแมลง สอนได้โดยให้เด็กวัดระยะห่างจากมดถึงตัวเรา ซึ่งจะเป็นการใช้เครื่องมืออย่างง่ายในการวัด
การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้
- มีหนังสือที่เกี่ยวข้องหลากหลาย
- มีสื่อที่หลากหลาย
กิจกรรมสำหรับผู้ปกครองเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
1.ให้เด็กหยิบอุปกรณ์การรับประทานอาหารด้วยตนเอง เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเซต
2.สนทนาพูดคุยเกี่ยวกับการเข้านอนน-ตื่นนอน เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเวลา
3.ให้เด็กช่วยทำอาหาร เช่นเด็ดผัก เด็กจะได้เรียนรูเกี่ยวกับการวัด การตวง การชั่ง
เทคนิคการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย
1.สังเกตพฤติกรรม
2.การสัมภาษณ์
3.การเขียนบันทึกเกี่ยวกับเด็ก
4.แฟ้มสะสมผลงาน
5.แบบประเมินพัฒนาการ
6.บันทึก
7.สังคมมติ
8.แบบทดสอบ
หลังจากที่อาจารย์สอนเสร็จแล้วอาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาไปทำคือ บันทึกครั้งสุดท้ายว่าได้อะไรจากการเรียนวิชานี้ และจัดการเขียนบล็อคให้เรียบร้อยด้วยค่ะ

MIND MAP หน่วยดอกไม้




สวัสดีค่ะในวันนี้จะได้นำเสนอ MIND MAP หน่วยดอกไม้ค่ะ เป็นการแจงรายละเอียดเนื้อหาที่จะต้องทำการสอนในแต่ละชั้น เช่น ดอกไม้ที่เด็กๆรู้จัก ลักษณะของดอกไม้ ประโยชน์และโทษของดอกไม้ ซึ่งจะมีลักษณะความยากง่ายแตกต่างกันไปค่ะ ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องบ้างแต่อาจารย์ก็ได้บอกรายละเอียดที่ถูกต้องให้เป็นที่เรียบร้อยแล้วค่ะ ซึ่งจะได้นำมาเสนอในครั้งต่อไปค่ะ

บันทึกการเข้าเรียน ( 11 กุมภาพันธ์ 2553)

สวัสดีค่ะมาเจอกันอีกแล้วนะคะ หลังจากสาธิตการสอนเมื่อวานเสร็จแล้ววันนี้เราก็มาสอนกันต่อค่ะ วันนี้พว วันนี้เป็นการสอนของหน่วยแมลงค่ะ ซึ่งก็เราก็ยังใช้ห้องชมรมบริหารเช่นเดิมค่ะ และวันนนี้แต่ละกลุ่มก็มีการเตรียมสื่อและอุปกรณ์การสอนมาเป็นอย่างดีซึ่งกลุ่มแรกคือ
กลุ่มอนุบาล1 สอนเกี่ยวกับแมลงที่เด็กๆรู้จัก ลักษณะของแมลง
กลุ่มอนุบาล 2 สอนเกี่ยวกับยุง
กลุ่มอนุบาล 3 สอนแมลงปีกอ่อนและแมลงปีกแขง และยังได้รับประทานแมลงชนิดต่างๆที่เพื่อนมาที่อร่อยอย่างมากมายด้วยค่ะ
หลังจากที่สอนเสร็จแล้วอาจารย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องเพลง การจัดกิจกรรมการสอน ต่างๆด้วยค่ะ

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สาธิตการสอน ( 10 กุมภาพันธ์ 2553 )

สวัสดีค่ะวันนี้ก็มาพบกันที่เก่าเวลาอาจเปลี่ยนแปลงได้ค่ะ สำหรับในวันนี้รู้สึกตื่นเต้นค่ะเพราะจะ ได้สาธิตการสอนแล้วทุกคนดูเหมือนจะเตรียมตัวมาเป็นอย่างดีค่ะ แต่ก็ยังรู้สึกตื่นเต้นอยู่ดีเพราะกลัวว่าสอนไม่ถูก(แต่เค้าว่ากันว่ผิดเป็นครู)ดังนั้นเราจะเป็นครูเราก็ผิดบ้าง ซึ่งในการสอนของแต่ละคนอาจารย์ก็ได้แนะนำวิธีการสอนได้อย่างละเอียด ซึ่งในวันนี้ได้สอน 3 กลุ่ม คือกลู่ม B หน่วยดอกไม้ซึ่งเป็นกลุ่มของเราด้วยตื่นเต้นตื่นเต้นแต่มองดูเวลาก็ล่วงเลยมากมายแล้วกลัวว่าจะไม่ได้สอนแต่เวลาแห่งการรอคอยก็มาถึงจนได้เราได้สาธิตการสอนจนได้โดยมีเสียงอาจารย์เรียก" เอ้ากลุ่มอนุบาล 3 " *-*โอ้...ตื่นเต้น
แผนการจัดประสบการณ์หน่วยดอกไม้ (เรื่องการปลูกดอกไม้)
อนุบาล 3 วันที่ 3

กิจกรรมเสริมประสบการณ์
จุดประสงค์
1.เด็กๆบอกขั้นตอนการปลูกดอกไม้โดยการปักชำอย่างง่ายๆได้
2.เด็กๆสามารถปลูกดอกไม้ได้
3.เด็กๆปฏิบัติตามคำสั่งได้
กิจกรรมการสอน
ขั้นนำ
ครูและเด็กๆร่วมกันร้องเพลง"ปลูกดอกไม้"
ขั้นสอน
1.ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับเพลงโดยใช้คำถามดังนี้
- เด็กๆเคยปลูกดอกไม้อะไรบ้าง
- เด็กๆมีวิธีปลูกดอกไม้อย่างไรบ้าง
2.ครูและเด็กร่วมกันวางแผนปลูกดอกไม้
3.ครูและเด็กร่วมกันสร้างข้อตกลง( ไม่แย่งของกัน เก็บของเข้าที่เมื่อทำกิจกรรมเสร็จ)
4.ครูแนะนำอุปกรณ์ในการปลูกดอกไม้
5.ครูสาธิตวิธีการปลูกดอกไม้
6.เด็กปลูกดอกไม้และมอบหมายหน้าที่ในการดูแลดอกไม้ของตนเอง
ขั้นสรุป
ครูและเด็กร่วมกันสรุปเรื่องกิจกรรมการปลูกดอกไม้ที่ได้ปฏิบัติ

สื่อ
1.ดิน
2.อุปกรณ์ในการปลูกดอกไม้
3.ต้นคุณนายตื่นสาย
4.น้ำ
5.เพลง ปลูกดอกไม้
" มาซิจ๊ะเชิญเธอมา มาปลูกดอกไม้กันเถอะ
มาซิจ๊ะเชิญเธอมา มาปลูกดอกไม้ด้วยกัน
ปลูกดอกไม้ในวันนี้ เพื่อโลกที่สวยงามสดใส
ทั้งช่วยลดโลกร้อน ช่วยอากาศแจ่มใส
มามะเร็วไว ร่วมใจกันปลูก"
การประเมิน
1.สังเกตการตอบคำถาม
2.สังเกตจากการทำกิจกรรม

****การบูรณาการสอนทางคณิตศาสตร์ เรื่องการวัด การชั่ง การตวง โดยใช้เครื่องมืออย่างง่าย ( กิจกรรมการปลูกดอกไม้)
**สิ่งที่อาจารย์แนะนำ**
1.สีในการเขียนแผ่นชาร์ตเพลงต้องเป็นสีที่ชัดเจนไม่เป็นสีสะท้อนแสง
2.ต้องมีหัวและเขียนให้ชัดเจน
3.อาจจัดให้ปลูกเป็นกลุ่มย่อย







บันทึกการเข้าเรียน 4 กุมภาพันธ์ 2553

**_** สวัสดีค่ะแล้วก็มาพบกันอีกเช่นเคยค่ะ สำหรับการเรียนในวันนี้เป็นวันที่ดิฉันรู้สึกว่าตัวเองตั้งใจเรียนมากกว่าทุกวันคะ (ไม่ตั้งใจไม่ได้แล้วนาทีนี้)เพราะอาจารย์ได้อธิบายถึงเนื้อหาและการเขียนแผนการจัดประสบการณ์อย่างละเอียดเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามบางครั้งก็ไม่ค่อยได้สนใจมากเท่าไหร่ตอนที่อาจารย์อธิบายกลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มตัวเอง(ไม่ดีเลยค่ะ) และนอกจากนั้นอาจารย์ยังสอนเนื้อหาซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ
การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ในการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กนั้น เราควรให้เด็กได้มีประสบการณ์กับของจริง เพราะเด็กวัยนี้ยังมีประสบการณ์ไม่มากดังนั้นถ้าเราสอนโดยให้เด็กเรียนรู้จากของจริงจะทำให้เด็กเข้าใจมากยิ่งขึ้น หลังจากนั้นจึงใช้รูปภาพ เพราะเด็กมีประสบการณ์มากแล้วจึงสามารถที่จะเรียนรู้จากภาพได้ และสุดท้ายคือเรียนรู้จากสัญลักษณ์เด็กที่เรียนรู้ได้จากสัญลักษณ์มักจะเป็นเด็กอนุบาล 3 ที่สามารถเรียนรู้สิ่งที่เป็นนามธรรมได้
ของจริง -->ภาพ-->สัญลักษณ์
การจัดประสบการณ์ให้ประสบผลสำเร็จ
1.ต้องรู้" พัฒนาการ"ของเด็ก
- เพื่อจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
- เพื่อบูรณาการกิจกรรมต่างๆได้เหมาะสม
- เพื่อประเมินพัฒนาการเด็กได้อย่างถูกต้อง
2.ต้องรู้"ความต้องการของเด็ก
3.ต้องรู้ธรรมชาติของเด็ก
4.วิธีการเรียนรู้ของเด็ก
- ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการลงมือกระทำกับวัตถุ ( ตาดู หูฟัง ลิ้นชิมรส กายสัมผัส และปฏิบัติจริง)-------->>
การเขียนแผนการจัดประสบการณ์
1.เพลงที่ใช้ต้องเขียนลงในสื่อการสอน
2.ถ้าขั้นนำนำโดยเพลง คำคล้องจอง นิทาน จะต้องสนทนาเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆก่อนจะข้ามเลยไม่ได้
และการเรียนการสอนในวันนี้ก็จบลงได้ด้วยดีค่ะ ถึงแม้ว่าจะเลิกช้ากว่ากำหนดแต่ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ดีค่ะ เพราะได้ความรู้จากการเรียนในวันนี้อย่างมามายค่ะ

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันทึกการเข้าเรียน ( 28 มกราคม 2553)

สวัสดีค่ะพบกันอีกแล้วนะคะ (ไวเหมือนโกหกเลย) สำหรับการเรียนในวันนี้อาจารย์ได้อธิบายถึงเรื่องที่จะต้องสอนในแต่ละหน่วย ซึ่งมีหน่วยแมลง(กลุ่มA )และหน่วยดอกไม้ (กลุ่ม Bซึ่งเป็นกลุ่มของพวกเราเองค่ะ) ซึ่งการเรียนในวันนี้รู้สึกไม่ค่อยดีเลยค่ะเพราะอาจารย์ถามอะไรพวกเราก็มักจะไม่ค่อยตอบเลยแต่อาจารย์ก็ยังอดทนสอนพวกเราและยังอธิบายเพื่อให้เข้าใจกันได้ทุกคน สำหรับเรื่องที่จะต้องสอนในชั้นต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้ค่ะ
หน่วยแมลง
อนุบาล 1 แมลงที่เด็กๆรู้จัก ลักษณะของแมลง ประโยชน์ โทษ
อนุบาล 2 เจาะจงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งได้เลือเป็นยุง
อนุบาล 3 ประเภทของแมลง(ซึ่งสอนแมลงปีกอ่อนและปีกแข็ง) การสำรวจแมลง วิธีการทำให้แมลงมาหาเรา

หน่วยดอกไม้
อนุบาล 1 ดอกไม้ที่เด็กๆรู้จัก ลักษณะของดอกไม้ ประโยชน์ โทษ
อนุบาล2 เจาะจงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งได้เลือก ดอกกุหลาบ
อนุบาล 3 ประเภทของดอกไม้ ( ดอกเดี่ยวและดอกช่อ) ไม้ดอกไม้ประดับ วิธีการปลูกดอกไม้ การดูแลรักษ่า ข้อควรระวังที่เกิดจากดอกไม้
หลังจากที่อาจารย์อธิบายเนื้อหาที่จะต้องสอนเสร็จแล้วอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มไปเขียนแผน 1 สัปดาห์และส่งเมล์ให้อาจารย์ด้วยค่ะ สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ก็จบลงได้ด้วยดีค่ะ

บันทึกการเข้าเรียน ( 21 มกราคม 2553)


สวัสดีค่ะหลังจากที่ห่างหายจากวงการไปซะตั้งนาน วันนี้เป็นวันดีก็เลยได้พบกันอีกครั้งค่ะ และถ้าไม่พบกันวันนี้ไม่รู้ว่าคะแนนบล็อคจะได้คะแนนน้อยนิดเท่าไหร่ และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาเริ่มกันเลยนะค่ะ ในวันนี้เราได้เรียนกันที่ห้องคอมค่ะ รู้สึกหนาวนิดหน่อย(หนาวใจนะค่ะ) วันนี้อาจารย์ตรวจงานที่มอบหมายให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มไปทำมา แต่ก็มีหลายๆกลุ่มที่เปิดไม่ได้และหาไม่เจอบ้าง และหลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่มเป็น 3 ช่วงอายุ คือ
อนุบาล 1 ( 3-4)
อนุบาล 2 ( 4-5 )

อนุบาล3 (5-6)

และแบ่งเป็น 2สาย คือ A และB และกลุ่มของดิฉันจับได้กลุ่ม B อนุบาล 3 ซึ่งพวกเราได้เลือกที่สอนหน่วยดอกไม้ค่ะ ซึ่งรู้สึกว่ายากมากแต่ก็ต้องทำให้ดีที่สุดค่ะ สู้สู้
และหลังจากนั้นอาจารย์ได้มอบหมายให้ร้อยลูกปัดกับลวดกำมะหยี่ จำนวน 10 เส้น ซึ่งอาจารย์ได้อธิบายจนนักศึกษาจะเข้าใจ แต่ดิฉันก็ไม่เข้าใจอยู่ดี แต่ก็ถามเพื่อนที่คิดว่าเข้าใจ ( แต่ก็ทำมาผิดทุกคนเลย เสียใจ เสียใจ ) แต่ไม่เป็นไรเค้บอกว่าผิดเป็นครู....

สำหรับวันนี้ก็เท่านี้ก่อนแล้วกันนะค่ะ แล้วพบกันใหม่ค่ะ