วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สื่อการเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์

สวัสดีค่ะหลังจาที่ห่างหายไปเป็นเวลานานแสนนาน วันนี้มาพบกันรู้สึกดีใจมากค่ะ วันนี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะได้นำภาพสื่อการเรียนการสอนที่ได้ไปพบเห็นในการสังเกตการสอน ณ โรงเรียนเกษมพิทยา แผนกอนุบาล อยากบอกว่าดีใจมากค่ะที่ได้ไปศึกษาสังเกตที่นี่เพราะคุณครูทุกคนให้ความเป็นกันเองมากค่ะ และเด็กก็น่ารักกันทุกคนเลย และที่สำคัญยังได้รับความรู้และประสบการณ์ดีๆที่ไม่สามารถหาได้จากการเรียนในห้องเรียนปกติได้ เช่นเทคนิคการสงบเด็ก การสอน และอื่นอีกมากมายเลยค่ะ สำหรับสื่อการเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์ของโรงเรียนเกษมพิทยาก็มีมากมาย ตามที่ได้เห็นกันนะคะ และยังมีอีกมากมายที่ไม่ได้เก็บมาให้ได้ดูกัน ซึ่งสื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กนั้นมีความจำเป็นเป็นอย่างมากเพราะเด็กสัมผัสและเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้นทำให้เด็กได้มีประสบการณ์มากยิ่งขึ้นจากการใช้สื่อการเรียนการสอนของครู......ค่ะแล้วพบกันโอกาสหน้าคะ

การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ศิริลักษณ์ วุฒิสรรพ์ ( 2551: 28-29 ) กิจกรรมควรออกแบบให้กระตุ้นความคิดทางคณิตศาสตร์ ช่วยให้เด็กรู้สึกสบายๆ กับการแก้ปัญหา สร้างความรักความชอบต่อการทำคณิตศาสตร์ การประเมินผลเน้นการประเมินการจัดกิจกรรม และกิจกรรมต้องเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก เน้นการประสบการณ์ของเด็กเป็นรายบุคคล ปัญหาและคำตอบจะนำมาใช้ในแง่การวิเคราะห์และประเมินผล โดยการรวบรวมข้อมูลโดตัวเด็กเอง ครู ผู้ปกครอง การร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การรายงานผลการวิเคราะห์ให้กับผู้ปกครอง ตัวอย่างงานของเด็ก การบันทึกความก้าวหน้าของเด็กจะต้องมี กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนิทาน เรื่องราวที่เป็นสถานการณ์เชื่อมโยงไปสู่การแก้ปัญหา ได้ทำกิจกรรมที่ช่วยให้เกิดการแก้ปัญหา รวมถึงกิจกรรมที่พัฒนาทักษะเกี่ยวกับการวัดความยาว พื้นที่ความจุปริมาตรและเวลา ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้การใช้ภาษา การจดบันทึกข้อมูล การคาดคะเนการประเมิน และวิธีการแสดงผลข้อมูล
กิจกรรมจะต้องกระตุ้นเด็กให้ใช้คณิตศาสตร์แก้โจทย์ปัญหา ได้ใช้การสื่อสารอธิบายความคิดทางคณิตศาสตร์ และสร้างแนวทางการใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ทำให้เด็กมีกิจกรรมที่มีความหมายในการสร้างสังคมของเด็ก ได้เชื่อมโยงประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์กับวิชาอื่นๆ ในโลกแห่งความจริง ได้รับการกระตุ้นให้เกิดการสื่อสาร โดยผ่านการตั้งคำถามและโต้ตอบเกี่ยวกับความคิดทางคณิตศาสตร์ และให้มีกิจกรรมเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ เช่น ให้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับกราฟหรือภาพแสดงข้อมูล ซึ่งจะช่วยสร้างทักษะการเรียงลำดับ การจัดประเภท การเปรียบเทียบความเหมือน ความต่าง ในขณะที่เด็กรวบรวมข้อมูลและจัดการกับข้อมูล ได้ทำการเปรียบเทียบและสรุปผล อาจทำกิจกรรมเป็นกลุ่มและรายบุคคล รวมถึงการทำการสำรวจสิ่งแวดล้อม ห้องเรียนและโรงเรียน มีกิจกรรมการจัดกลุ่มสิ่งของ การนับ การเขียนกราฟรูปภาพและใช้วิธีต่างๆ ในการรวบรวมข้อมูลและแสดงข้อมูล
สิ่งที่คาดหวังมากที่สุด ก็คือ เมื่อผ่านปฐมวัย เด็กจะยังคงสนุกสนานกับการใช้ภาษาคณิตศาสตร์และใช้ได้อย่างถูกต้องและในการเล่นของเด็กก็จะแสดงถึงความก้าวหน้าในการใช้หลักการและเหตุผลทางคณิตศาสตร์ เด็กจะกระตือรือร้นที่จะจัดกระทำและทดลองกับสิ่งรอบๆ ตัวบล็อกจะถูกจัดเรียงตามรูปร่างหรือขนาด มีการเปรียบเทียบความกว้าง ยาว และความลึก ในการจัดประสบการณ์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยนั้น มีจุดมุ่งหมายสำคัญที่จะเตรียมเด็กให้มีความพร้อมทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น นั่นคือ ให้เห็นคุณค่าของคณิตศาสตร์ให้ใช้เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ได้ ให้สื่อสารคณิตศาสตร์เป็น ให้แก้ปัญหาได้ และมีความมั่นใจในความสามารถการทำคณิตศาสตร์ของตน ประสบการณ์ที่จัดต้องเป็นประสบการณ์ตรงที่เหมาะกับวัย มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์แก่เด็ก พัฒนาความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์และพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน__
คณิตศาสตร์มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของเด็กในการเล่นและพูดคุยของเด็กนั้น มักจะมีเรื่องคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ จากคำพูดของเด็กที่เราได้ยินมักจะพบอยู่เสมอว่ามีการพูดึงการเปรียบเทียบ การวัด และตัวเลข เช่น “เอาอันที่ใหญ่สุดให้หนูนะ” “หนูจะเอาอันกลม ๆ นั่นละ” “โอ้โฮ อันนี้ราคาตั้ง 10 บาท” “หนูรู้เบอร์โทรศัพท์ที่บ้านคุณยาด้วย” “วันนี้เราตื่นสาย” “หนูไม่ไปโรงเรียน 8 โมงเช้า” “บ้านคุณยายอยู่ห่างจากบ้านหนู 20 กิโล” “หนูมีเงินตั้ง 5 บ้าน” “คุณแม่ให้เงินหนู 10 บาท” “หนูมีถุงเท้าใหม่ 3 คู่” ประโยคเหล่านี้ล้วนน่าสนใจและแสดงถึงการใช้คำศัพท์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ มีทักษะและความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาที่สูงขึ้น และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป

ผู้สืบค้น นางสาวแพรวพรรณ ร่วมคิด
จุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์
(นิตยา ประพฤติกิจ. 2541: 17 – 19) กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้
1. เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การ บวกหรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ
2. เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการในการหาคำตอบ เช่น เมื่อเด็กบอกว่า “หน่อง” หนักกว่า “ปุ้ย” แต่บางคนบอกว่า “ปุ้ย” หนักกว่า “หน่อง” เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง จะต้องมีการชั่ง น้ำหนักและบันทึกน้ำหนัก
3. เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น รู้จักและเข้าใจคำศัพท์และสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ขั้นต้น
4. เพื่อให้เด็กฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน เช่น การนับ การวัด การจับคู่ การจัดประเภท การเปรียบเทียบ การจัดลำดับ เป็นต้น
5. เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
6. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้และอยากค้นคว้าทดลอง
ผู้สืบค้น นางสาวอัญชลี วังหินกอง

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
เพ็ญจันทร์ เงียบประเสริฐ (2542: 14 – 18) กล่าวถึงขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย ไว้ดังนี้
1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น
2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม
3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า ฯลฯ
6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น
7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ
8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน 9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น
10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ ?
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม
ผู้สืบค้น นางสาวสรัญญา เสนาบุตร



กิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การนับถือว่าเป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเด็ก จะเชื่อมโยงตัวเลขกับสิ่งต่างๆกิจกรรมที่เกี่ยวกับการนับควร ให้เด็ก ได้ฝึกจากประสบการณ์จริง อาจให้นับกระดุมเสื้อ นับ ต้นไม้ในสนาม นับหลอดด้าย เป็นต้น

ตัวอย่างกิจกรรม เพื่อฝึกการนับและแยกประเภท
จุดประสงค์ เพื่อฝึกการนับและการแยกประเภท
อุปกรณ์ 1. ส้ม 2-3 ผล
2. มะม่วง 2-3 ผล
3. เงาะ 2-3 ผล (เปลี่ยนเป็นผลไม้อื่น ๆ ได้ตามฤดูกาล)
4. การจาด 5. ผ้าสำหรับคลุม
ขั้นจัดกิจกรรม
1. ผู้เลี้ยงดูเด็กนำส้ม มะม่วง เงาะ ใส่กระจาด แล้วใช้ผ้าคลุมไว้
2. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาคลำและบอกว่าเป็นผลไม้อะไร
3. และถามว่าผลไม้ชนิดนั้นมีกี่ผล
4. เมื่อคลำจนครบ ผู้เลี้ยงดูเด็กเปิดผ้าคลุมออกให้เด็กบอกชื่อผลไม้ในกระจาดและช่วยกันนับจำนวนผลไม้
5. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาช่วยกันแยกประเภทผลไม้
การประเมินผล
สังเกต
1. จากการร่วมกิจกรรม
2. จากการสนทนาตอบคำถาม
3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การจับคู่ ถือว่าเป็นกิจกรรมเบื้องต้นของคณิตศาสตร์อีกกิจกรรมหนึ่ง

ตัวอย่างกิจกรรม จับคู่ลูกหมู
จุดประสงค์ เพื่อฝึกจับคู่สิ่งต่าง ๆ ให้เข้าพวกกัน
จุดมุ่งหมาย เพื่อให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะของวัตถุหรือรูปภาพ ตั้งแต่เรื่องขนาด รูปทรง สี หรือลักษณะรายละเอียดอื่น ๆ
อุปกรณ์
1. แผ่นผ้ายสำลี
2. ภาพลูกหมู
3 ภาพ 3 สี 3. ภาพบ้าน 3 หลัง (ทำตัวฟาง กิ่งไม้ อิฐ)
ขั้นจัดกิจกรรม
1. เล่าเรื่อง “ลูกหมูสามตัว” ให้เด็กฟัง
2. สนทนาซักถามเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทาน
3. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาจับคู่ภาพลูกหมูกับบ้านที่ลูกหมูแต่ละตัวสร้าง
การประเมินผล
สังเกต
1. จากการร่วมกิจกรรม
2. จากกการสนทนาตอบคำถาม
3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การเปรียบเทียบ ต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสิงสิ่งว่ามีลักษณะเฉพาะอย่างไร สิ่งที่สำคัญในการเปรียบเทียบคือ เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น และรู้จักคำศัพท์ที่จะต้องใช้ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า ใหญ่กว่า เป็นต้น
ตัวอย่างกิจกรรม กระดุมหลากสี
จุดประสงค์ เพื่อฝึกฝนการเปรียบเทียบ (มากกว่าและน้อยกว่า) โดยใช้กระดุม
อุปกรณ์ กระดุมจำหนึ่ง ที่มีสี รูปร่าง และขนาดต่างกัน
ขั้นจัดกิจกรรม
1. หยิบกระดุม 5 เม็ด วางบนโต๊ะ โดยไม่จำเป็นต้องเรียงเป็นแถว
2. ให้เด็กดูพร้อมจำนวนกระดุม
3. ให้เด็กปิดตา แล้วหยิบกระดุมออก 1 เม็ด
4. ให้เด็กลืมตาแล้วบอกจำนวนกระดุมว่ามี “มากกว่า” หรือ “น้อยกว่า” เมื่อเปรียบเทียบกับตอนแรก 5. อาจเปลี่ยนกิจกรรมจากการเปรียบเทียบจำนวนเป็นการเปรียบเทียบขนาดแทน
การประเมินผล
สังเกต
1. จากการร่วมกิจกรรม
2. จากการสนทนาตอบคำถาม
3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ เด็กปฐมวัยมักไม่ค่อยเข้าใจเรื่องการคงที่ของปริมาตรวัตถุ ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงหรือย้ายที่ก็ตาม การอนุรักษ์ปริมาณของวัตถุควรเริ่มที่กิจกรรมการเล่นทราย และน้ำความคิดรวบยอดในเรื่องการอนุรักษ์ก็คือปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม

ตัวอย่างกิจกรรม การอนุรักษ์ปริมาณ
จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ปริมาณ
อุปกรณ์
1. ถ้วยตวงชนิดใส 3-4 ใบ
2. แก้วที่มีขนาดและรูปทรงต่าง ๆ
ขั้นจัดกิจกรรม
1. เทน้ำใส่ถ้วยตวงทั้งหมดที่มี ให้มีปริมารน้ำเท่ากันทุกใบ อาจหยดสีผสมอาหารใส่ลงไปด้วย เพื่อให้เด็กมองเห็นระดับน้ำได้ชัดเจน
2. แจกถ้วยตวงพร้อมกับแก้วเปล่ารูปทรงต่าง ๆ แก่เด็กเป็นคู่ ๆ
3. ให้เด็กเทน้ำจากถ้วยตวงใส่ลงแก้วเปล่ารูปทรงต่าง ๆ
4. ให้เด็กเปรียบเทียบปริมาณน้ำจากแก้วกับถ้วยตวง
5. สนทนาโดยใช้คำถาม “ปริมาณน้ำที่เด็ก ๆ เห็นต่างกันหรือไม่”
6. สรุปเกี่ยวกับการอนุรักษ์ปริมาณ การประเมินผลการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์

ผู้สืบค้น นางสาวดวงแก้ว หอมดี

นิทานพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
นิทานพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
การเตรียมความพร้อมด้านทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นสิ่งสำคัญที่ครู
ผู้สอนต้องจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก เนื่องจากเป็นวิชาบังคับที่เด็กต้องเรียนรู้ในระดับประถมศึกษา
ธรรมชาติของการเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์ ต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนจากง่ายไปสู่ยาก โดยเฉพาะการเรียนรู้เรื่องจำนวน หากเด็กยังไม่เข้าใจความหมายของจำนวน เด็กก็ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะอื่นๆที่ซับซ้อนขึ้น เช่น การบวก ลบ ต่อไปได้ ดังนั้นการพัฒนาทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้รู้ค่ารู้จำนวน จึงเป็นสิ่งที่ครูจะละเลยไม่ได้ สิ่งที่ครูต้องตระหนักอย่างมากประการหนึ่งคือ จะใช้นวัตกรรมหรือวิธีการใดที่จะทำให้เด็กเกิดทักษะคณิตศาสตร์ได้อย่างเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ขั้นตอนแรกเด็กต้องเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ให้เด็กได้หยิบจับ นับสิ่งของรอบๆตัว และต้องทำซ้ำๆสม่ำเสมอ เมื่อเด็กเริ่มเรียนรู้จำนวนโดยการสัมผัสของจริงแล้ว ก็สามารถเริ่มให้เด็กได้ฝึกทักษะในรูปแบบที่เป็นนามธรรมได้บ้าง เช่น การใช้ภาพเป็นสื่อแทนของจริง
จากประสบการณ์การเป็นครูปฐมวัยมานาน พบปัญหาด้านการไม่รู้ค่าจำนวนของเด็กอยู่เสมอ จึงได้ศึกษาวิเคราะห์หาสาเหตุและได้สร้างชุดกิจกรรม BBL ( Brain – Based Learning ) พัฒนาทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย การรู้ค่าจำนวน 1-5 เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ชุดกิจกรรมและกระบวนการชุดนี้ออกแบบโดยใช้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของสมองเป็นฐานข้อมูล BBL ( Brain – Based Learning ) ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ และสร้างชุดกิจกรรม เพื่อพัฒนาด้านสติปัญญาโดยให้เด็กมีประสบการณ์สำคัญเรื่อง จำนวน และสภาพที่พึงประสงค์ เกี่ยวกับการรู้ค่าจำนวน 1- 5 สนองตอบต่อความสามารถและความถนัดในการใช้สมองที่มีต่อการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าของแต่ละบุคคล โดยการฝึกให้ปฏิบัติซ้ำ ๆ ประกอบด้วยกระบวนการใช้กิจกรรม 4 ขั้นตอน
1) ขั้นสร้างความสนใจ กิจกรรมที่ใช้ เพลง, เกม/การเคลื่อนไหวประกอบเพลง, การเล่นบทบาทสมมติประกอบเพลง
2) ขั้นให้ประสบการณ์ กิจกรรมที่ใช้ การเล่านิทานประกอบภาพ, การนิทานประกอบแผ่นป้ายสำลี, การเล่านิทานประกอบกาแสดงท่าทาง
3) ขั้นปฏิบัติงานฝึกทักษะ กิจกรรมที่ใช้ เกมการศึกษา, แบบฝึกทักษะ, หนังสือเล่มเล็ก,กิจกรรมศิลปะ
4) ขั้นประเมินผลการเรียนรู้ ( การประเมินพัฒนาการทางสติปัญญา) กิจกรรมที่ใช้แบบประเมินผลการเรียนรู้

ในส่วนของนิทาน จากการศึกษาพบว่า เด็กชอบสื่อประเภทนิทาน และผลจากงานวิจัยหลายชิ้นพบว่าเด็กชอบนิทานประเภทคำคล้องจอง เพราะมีภาษาและเสียงที่มีคำสัมผัสคล้องจอง ทำให้เด็กเพลิดเพลิน และง่ายต่อการจดจำ นำไปพูดต่อได้

ตัวอย่างนิทานในชุดกิจกรรมที่ 1 ตัวเลขสวัสดี

นิทานเรื่อง ตัวเลขสวัสดี
( ผู้แต่ง นาถศจี สงค์อินทร์ )
สวัสดีเด็กน้อยน่ารัก ใครรู้จักช่วยบอกฉันที
ว่าตัวฉันนี้ชื่อเลขอะไร ใช่แล้ว ใช่แล้วคนเก่ง
ตัวฉันเองชื่อเลข หนึ่งไง เด็กๆจำหน้าฉันไว้
ฉันเลข หนึ่งไง สวัสดี สวัสดี
สวัสดีเด็กน้อยน่ารัก ใครรู้จักช่วยบอกฉันที
ว่าตัวฉันนี้ชื่อเลขอะไร ใช่แล้ว ใช่แล้วคนเก่ง
ตัวฉันเองชื่อเลข สองไง เด็กๆจำหน้าฉันไว้
ฉันเลขสองไง สวัสดี สวัสดี
สวัสดีเด็กน้อยน่ารัก ใครรู้จักช่วยบอกฉันที
ว่าตัวฉันนี้ชื่อเลขอะไร ใช่แล้ว ใช่แล้วคนเก่ง
ตัวฉันเองชื่อเลข สามไง เด็กๆจำหน้าฉันไว้
ฉันเลข สามไง สวัสดี สวัสดี
สวัสดีเด็กน้อยน่ารัก ใครรู้จักช่วยบอกฉันที
ว่าตัวฉันนี้ชื่อเลขอะ ใช่แล้ว ใช่แล้วคนเก่ง
ตัวฉันเองชื่อเลข สี่ไง เด็กๆจำหน้าฉันไว้
ฉันเลข สี่ไง สวัสดี สวัสดี
สวัสดีเด็กน้อยน่ารัก ใครรู้จักช่วยบอกฉันที
ใช่แล้ว ใช่แล้วคนเก่ง ตัวฉันเองชื่อเลข ห้าไง
เด็กๆจำหน้าฉันไว้ ฉันเลข ห้าไง สวัสดี สวัสดี
เรียนรู้เลขหนึ่งถึงห้า ว่าหน้าตาฉันเป็นอย่างนี้
เด็กๆช่วยนับอีกที หนึ่งถึงห้านี้นับพร้อมๆกัน
1…. 2 …. 3 …. 4 …. 5 ….
กิจกรรมคณิตคิดสนุก
ทักษะกระบวนการคิดด้านคณิตศาสตร์ มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและเป็นพื้นฐานสำคัญของการคิดด้านต่างๆ ทางแผนกอนุบาลเห็นถึงความสำคัญด้านนี้จึงได้จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยขึ้น
วันเมื่อวันที่ 29 – 30 กรกฎาคม 2551 ณ ลานอเนกประสงค์แผนกอนุบาล


ผู้สืบค้น นางสาวพิชญา ทองจันทร์